บัตรสวัสดิการแห่งรัฐมีความเข้มงวดในการพิจารณามากขึ้น กระทรวงการคลังและรัฐบาลชุดใหม่ เตรียมเปลี่ยนเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ของผู้มีรายได้น้อยที่มีสิทธิ์ได้เป็นเจ้าของบัตรสวัสดิการแห่งรัฐรอบใหม่ โดยจะพิจารณาจาก รายได้รวมของครอบครัว รวมถึงการเลี้ยงดูบุตรหลาน และหลักทรัพย์เป็นหลัก คาดว่าจะทำให้ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จากที่มีอยู่ล่าสุด 14.5 ล้านคน เหลือเพียง 10 ล้านคน ลดภาระงบประมาณลง 4.5 ล้านคน
จากหลักเกณฑ์เดิม คือ 1.ผู้ลงทะเบียนจะต้องมีสัญชาติไทย อายุ 18 ปีขึ้นไป 2. ต้องเป็นผู้มีรายได้ ไม่เกิน 1 แสนบาท/ปี 3.ต้องมีเงินฝากในธนาคารไม่เกิน 1 แสนบาท 4. มีบ้าน ขนาดไม่เกิน 25 ตร.ว. และมีคอนโดไม่กิน 35 ตร.ว. และ 5.มีที่ดินเพื่ออาศัย อยู่เอง ไม่เกิน 1 ไร่ และมีที่ดินเพื่อการเกษตร ไม่เกิน 10 ไร่
หลักเกณฑ์ใหม่ที่เพิ่มขึ้น คือ พิจารณาจากรายได้ของครอบครัว แทนการพิจารณารายบุคคล เนื่องจากเมื่อมีการตรวจสอบจากฐานะของครอบครัวแล้ว พบว่าบางกรณี ครอบครัวมีฐานะดี ดังนั้นหากผู้ที่ได้รับบัตรสวัสดิการขาดคุณสมบัติตามเงื่อนไขใหม่ ต้องถูกคัดชื่อออกไปทันที เนื่องจากสมาชิกภายในครอบครัวมีรายได้เกินที่กำหนด
โดยจะมีการจัดตั้งคณะกรรมการระดับจังหวัด คณะกรรมการระดับอำเภอ และคณะกรรมการระดับหมู่บ้าน เข้าตรวจสอบด้วย เพื่อคัดกรองผู้ที่สมควรได้รับบัตรสวัสดิการ เพื่อให้การคัดกรองคนเข้าและออก มีความถูกต้องจริงๆ ซึ่งหากพบภายหลังว่าผู้ที่ได้รับสวัสดิการแห่งรัฐขาดหลักเกณฑ์ข้อใดจะต้องถูกชื่อคัดออกทันทีเช่นกัน
โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่เริ่มต้นในปีแรก ใช้เงินงบประมาณทั้งสิ้น 17,469 ล้านบาท โดยจ่ายเงินให้ผู้มาลงทะเบียน 7,715,359 คน และที่ผ่านมาตั้งแต่เริ่มโครงการ มีการใช้จ่ายผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 42,509.82 ล้านบาท แบ่งเป็นจ่ายให้ร้านธงฟ้าประชารัฐ จ่ายให้ร้านก๊าซหุงต้ม ค่าโดยสารรถ บขส. ค่าโดยสารรถไฟ-รถไฟฟ้า และโอนเงินเข้าบัญชีเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต
ขอบคุณข้อมูล ข่าวประชาชาติ เรียบเรียง 2benews