จีนเป็นประเทศที่ชอบรับประทาน ผลไม้อย่างทุเรียน โดนส่วนมากจะนำเข้ามาจาก ประเทศไทย (หมอนทอง) และ ประเทศ มาเงเซีย (MUSANG KING) MUSANG KING เป็นชื่อภาษาอังกฤษของทุเรียนชั้นดีของประเทศมาเลเซีย (ภาษาจีนกลางอ่าน MAO SHAN WANG แปลว่า CAT MOUNTAIN KING) เขาเคลมว่าเป็นทุเรียนที่ดีที่สุดในโลก KING OF DURIANS เป็น KING OF KINGS ราคาทุเรียนชั้นดี MUSANG KING จะถูกแพงขึ้นอยู่กับความสูงของภูเขาและแปลงที่ไปปลูก ยิ่งสูงยิ่งแพง ปกติพันธุ์ MUSANG KING จะแพงกว่าทุเรียนพันธุ์อื่น 30-40% ราคาซื้อขายหน้าธรรมดาที่สวน ก็ไล่ตั้งแต่ 40-50 ริงกิตขึ้นไป
Yu Desheng กล่าวว่าในปี 2014 มีการนำต้นทุเรียนมากกว่า 40 ต้นมาปลูก ทั้ง 2 ข้างทาง ณ. มณฑลไหหลำ ปลูกได้สำเร็จ มีทั้งพันธุ์หมอนทอง และ พันธุ์ MUSANG KING เพียงแค่รดน้ำตลอด จนถึง ปีที่สองและปีที่สามเบ่งบาน แต่ไม่มีผลใด ๆ หลังจากออกดอกในเดือนธันวาคมปีที่แล้ว พบผลทุเรียนออกในเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ เขา แนะนำว่าตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปีนี้ทุเรียนได้เข้าสู่ระยะเวลาครบกำหนด และ มีผลต่อเนื่อง “ชุดสุดท้ายถูกตัดในวันนี้” สำหรับ ผลนั้น สวยงาม รสชาติ หวานปนขม เล็กน้อย ซึ่งยังไม่สามรถ ผลิตจำหน่ายเข้าสู่ตลาดได้ เนื่องจากต้นทุเรียน ยังมีอายุอ่อน และระยะเวลาในการลงทุนปลูกทุเรียนจนถึงสามารถเก็บเกี่ยวได้ต้องใช้เวลาประมาณ 4-8 ปี ตามความแตกต่างของสายพันธุ์ จึงจะเป็นต้อง รอการพัฒนา อย่างต่อเนื่อง ปัจจุบัน ได้ทำการทดลองเพาะปลูกในพื้นที่ต่างๆ เช่น Baoting, Sanya, Qionghai และ Chengmai คาดอีก 3 ปี คนจีนได้กินทุเรียน ราคาถูกลง
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) จับตาการปลูก “ทุเรียน” ในจีน หลังล่าสุดมณฑลไหหลำสามารถทดลองเพาะปลูกได้สำเร็จ จากการนำต้นพันธุ์จากมาเลเซียมาปลูก แนะไทยต้องควบคุณคุณภาพ ดันเป็นสินค้าเกรด พรีเมี่ยม เพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาด
นางสาววรรณลดา รัตนพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองหนานหนิง สาธารณรัฐประชาชนจีน กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สำนักงานฯ ได้มีการติดตามการเพาะปลูกทุเรียนในมณฑลไหหลำ โดยพบว่า เมื่อเร็วๆ นี้ มีการทดลองปลูกทุเรียนประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรก โดยมีบริษัทเอกชนทดลองนำต้นทุเรียนพันธุ์ Sanno จำนวน 20 ต้นจากประเทศมาเลเซียมาทดลองปลูกที่เมืองซานย่า มณฑลไหหลำ และได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ทั้งนี้ Mr.Feng Xuejie ประธานของสถาบันวิจัยต้นผลไม้ฤดูร้อนของมณฑลไหหลำ ได้แสดงความเห็นว่า เกษตรกรยังไม่ควรจะรีบเร่งนำต้นกล้าไปปลูก เพราะขณะนี้ยังอยู่ในช่วงการทดลองสายพันธุ์ และจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับภูมิอากาศที่เหมาะสม เพราะการปลูกทุเรียนให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ และระยะเวลาในการลงทุนปลูกทุเรียนจนถึงสามารถเก็บเกี่ยวได้ต้องใช้เวลาประมาณ 4-8 ปี ตามความแตกต่างของสายพันธุ์ รวมทั้งต้นทุเรียนเป็นไม้ใหญ่ ต้องใช้พื้นที่ในการเพาะปลูก ขณะที่ผลผลิตต่อพื้นที่มีจำนวนน้อย ทำให้ต้นทุนค่อนข้างสูง จึงคาดว่าแม้มณฑลไหหลำจะปลูกทุเรียนได้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูงสำเร็จ แต่ราคาก็ไม่น่าจะต่ำกว่าราคาทุเรียนในปัจจุบันมากนัก
ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันวิทยาศาสตร์การเกษตรของมณฑลไหหลำ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ในความเป็นจริง มณฑลไหหลำได้มีการปลูกทุเรียนมาหลายสิบปีก่อน แต่ผลผลิตที่ได้ต่ำ รสชาติไม่ดีมาก จึงไม่ได้เพาะปลูกอย่างแพร่หลาย และในปัจจุบัน แม้จะประสบความสำเร็จในการทดลองปลูกทุเรียนที่นำพันธุ์จากมาเลเซียมาทดสอบ แต่การนำต้นกล้าทุเรียนมาปลูกในพื้นที่นอกแปลงทดลอง ยังคงมีความเสี่ยงอยู่ เนื่องจากไม่สามารถควบคุมสภาพปัจจัยทางภูมิอากาศได้เหมือนในพื้นที่แปลงทดลอง อย่างไรก็ตาม สำนักงานฯ เห็นว่า แม้มณฑลไหหลำจะยังไม่สามารถผลิตทุเรียนเข้าตลาดได้อย่างจริงจัง แต่หากมีการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านการคัดพัฒนาสายพันธุ์ให้เหมาะสมกับการเพาะปลูกในพื้นที่เกษตรกรรมจริง ทุเรียนที่ผลิตจากมณฑลไหหลำอาจสามารถเข้ามาแย่งตลาดทุเรียนสดในจีนได้ ซึ่งผู้ส่งออกทุเรียนของไทยต้องรักษาคุณภาพของสินค้าว่าทุเรียนไทยเป็นสินค้าเกรดพรีเมี่ยม รสชาติดี คุณภาพสูง เพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดในจีนเอาไว้ โดยปัจจุบัน ทุเรียนสดในตลาดจีนส่วนมากนำเข้าจากไทย มีส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 80% ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองหนานหนิง สาธารณรัฐประชาชนจีน หรือกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ www.ditp.go.th หรือสายตรงการค้าระหว่างประเทศ โทร 1169
เรียบเรียง 2benews ขอบคุณ gnews ,china news