ฟังกันชัด ๆ อีกครั้ง เรื่องเก็บภาษี 15 % จาก บัญชีเงินฝากออมทรัพย์
สรรพากรเข้าประชุมเสร็จแล้ว ผู้ฝากเงินที่ไม่ต้องการยกเว้นภาษี แจ้งความประสงค์ไม่ให้ธนาคารนำส่งข้อมูลดอกเบี้ยได้ที่ธนาคาร ตั้งแต่วันที่ 7 พ ค. 2562 เป็นต้นไป เมื่อวันที่ 3 พ.ค.2562 ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร ได้ลงนามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ออกมาแถลง แล้วว่า
เปิดงานแถลงข่าววันที่ 3 พ.ค. 2562
โดยเมื่อวันที่ 25 เมษายนที่ผ่านมา กรมสรรพากรได้หารือร่วมกับทางสมาคมธนาคารไทยสมาคมธนาคารนานาชาติก็มีผู้แทนของธนาคารแห่งประเทศไทยร่วมด้วยนะครับเพื่อกำหนดแนวทางในการส่งข้อมูลดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ให้แก่กรมสรรพากรเพื่ออะไรเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ฝากเงินบัญชีออมทรัพย์ส่วนใหญ่ทั่วประเทศเนี่ยให้ได้รับสิทธิ์ยกเว้นภาษีนะครับ ที่ประชุมเห็นพ้องต้องกันอย่างนี้นะครับว่า
เพื่อให้ผู้ฝากเงินส่วนใหญ่ทั่วประเทศนะครับได้รับสิทธิยกเว้นภาษีธนาคารจะนำส่งข้อมูลดอกเบี้ยให้แก่กรมสรรพากรและกรมสรรพากรจะคงไปรวบรวมข้อมูลต่างๆของธนาคารต่างๆว่าผู้ฝากเงินมีดอกเบี้ยเงินฝากเกิน 20000 หรือไม่ และเราจะแจ้งกลับไปที่ธนาคารนะครับถ้าไม่เกินท่านก็ไม่ต้องเป็นห่วงว่าต้องทำอะไรนะครับส่วนถ้าเกินตรงนั้นน่ะ ท่านก็จะไม่ได้รับสิทธิ์ในการยกเว้น 20000 บาท
ขณะเดียวกัน ผู้ที่ประสงค์จะไม่ได้รับสิทธิ์ในการยกเว้นภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก 20000 บาท ก็ต้องไปแจ้งกับธนาคารนะครับผู้จ่ายดอกเบี้ยนะครับว่า ไม่ต้องการให้นำส่งข้อมูลแล้ว ธนาคารก็จะทำหน้าที่เหมือนปกติคือหักภาษีเงินได้ณที่จ่ายดอกเบี้ยดังกล่าว ในอัตรา 15 เปอร์เซ็นต์
เพราะฉะนั้นเนี่ยตามที่เราตกลงกันเช่นนี้แปลว่าอะไร แต่ว่าผู้ฝากเงินฝากออมทรัพย์ส่วนใหญ่ไม่ต้องทำอะไรยกเว้นท่านบอกว่าท่านไม่อยากได้รับสิทธิ์ในการยกเว้นเงินฝากดอกเบี้ยเงินฝาก 20000 บาทไม่ต้องการให้ธนาคารส่งข้อมูลให้กับกรมสรรพากรเพื่อคำนวณสิทธิ์ของท่านเอง ว่าท่านมีสิทธิหรือเปล่า ท่านก็ไปแจ้งธนาคาร เพราะฉะนั้น คนส่วนใหญ่ถ้าไม่ไปแจ้งธนาคารก็จะได้รับสิทธิ์ตรงนี้นะครับตามปกติก็ทางกรมสรรพากรก็จะแก้ประกาศอธิบดีเพื่อทำให้สอดคล้องกับแนวทางที่ได้คุยกับทางสมาคมต่างๆนะครับซึ่งก็จะทำให้ผู้ฝากเงินส่วนใหญ่ทั่วประเทศไม่ได้รับผลกระทบใดๆจากเดิมที่ต้องกังวลว่าจะต้องไปแจ้งความยินยอมจากธนาคารจะไปยังไงจะทำทันหรือไม่ตอนนี้ไม่ต้องกังวลแล้วนะครับเราได้ข้อสรุปเรียบร้อยแล้วเพราะฉะนั้นจะได้ไม่ต้องเป็นประเด็นอีกต่อไป
Cr กรมสรรพากร ( Revenue Department) เรียบเรียง 2benews