โลกร้อน ธารน้ำแข็งแห่งแรกของไอซ์แลนด์ ละลายหมดแล้ว

พิธีการอำลาธารน้ำแข็งแห่งแรกของไอร์แลนด์ที่ละลายจนหมดหวังว่าพิธีอำลานี้ จะเป็นแรงกระตุ้น ให้ไม่เพียงแต่พวกเราที่อาศัยอยู่ในไอร์แลนด์ แต่รวมถึงผู้คนที่เหลืออีกมากมายในประชาคมโลกเพราะสิ่งที่เราเห็นอยู่นี้เป็นวิกฤติด้านสภาพภูมิอากาศ ที่พวกเราทุกคนต่างเผชิญร่วมกัน พลังงานทดแทนส่วนใหญ่ของเราถูกผลิตขึ้นจากธารน้ำแข็งการผลิตกระแสไฟฟ้าเองก็มาจากบรรดาธารน้ำแข็งเหล่านี้ ดังนั้นฉันคิดว่าเราจำเป็นต้องตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนี้

นั่นเป็นเหตุว่าทำไมเมื่อธารน้ำแข็งหายไปถึงส่งผลกระทบต่อระบบพลังงานของเราโดยตรง องค์กรนาซ่าเผยว่าในช่วงทศวรรษ 1940 ธารน้ำแข็งOkjökull เคยมีขนาดใหญ่ถึง 38 ตารางกิโลเมตร ภาพถ่ายทางอากาศเมื่อปี 1986 แสดงว่าOkjökull ที่มีขนาดเล็กลงเหลือเพียง 3 ตารางกิโลเมตรก่อนที่จะค่อยๆละลายลงจนมีขนาดน้อยกว่า 1 ตารางกิโลเมตรดังเช่นในปัจจุบัน

นับเป็นการละลายตัวเองในอัตราที่ค่อนข้างหน้าตกใจผู้เชี่ยวชาญระบุว่าไอร์แลนด์สวนสูญเสียธารน้ำแข็งสูงถึง 1.1 หมื่นล้านตันต่อปี จนหลายฝ่ายเกรงว่าธารน้ำแข็งที่มีทั้งหมดอีกกว่า 400 แผ่นของไอร์แลนด์จะประสบชะตากรรมเดียวกัน โดยจะละลายหายไปจนหมดภายในอีก 200 ปีข้างหน้า ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนับวันยิ่งทวีความรุนแรง ล่าสุดไอซ์แลนด์จัดพิธีอำลา Okjökull ธารน้ำแข็งแห่งแรกของประเทศที่ละลายลงจนหมด หลังจากเมื่อปี 2014 Okjökull ถูกประกาศให้ไม่ได้มีสถานะเป็นธารน้ำแข็งอีกต่อไป เนื่องจากขาดคุณสมบัติในเรื่องความหนาของชั้นน้ำแข็ง รวมถึงเรื่องการเคลื่อนที่ ธารน้ำแข็งโดยทั่วไปจะต้องมีความหนาราว 40-50 เมตร และค่อยๆ เกิดการเคลื่อนตัวอย่างช้าๆ

เรียบเรียง 2benews ขอบคุณ thestandard