นิคมฯ จังหวัดอุบลราชธานีแห่งแรก สร้างงาน สร้างรายได้

กลุ่มอินดัสตี้ทุ่มเงิน 2,700 ล้าน ตั้งนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดอุบลราชธานีแห่งแรก บนพื้นที่ 2,300 ไร่ ตำบลนากระแซง และตำบลทุ่งเทิ่ง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี หลังกรมโยธาฯ เปลี่ยนผังเมืองจากสีเขียวเป็นสีม่วง ตอนนี้อยู่ในขั้นตอนที่ 3 จาก 8 คาดว่า จะเริ่มออกแบบก่อสร้าง และ เปิดดำเนินการ ปี 2564 ช่วยให้เกิดประโยชน์ทั้งในเรื่องพัฒนาสังคม พื้นที่และยังเป็นฐานการผลิตของผู้ประกอบการ smes ในประเทศและต่างประเทศ กระจายรายได้สู่ท้องถิ่น ช่วยให้เกิดการสร้างงาน กว่า 20000 อัตรา สู่ภาคอีสานใต้ มุ่งเจาะกลุ่มเป้าหมายภาคส่วนอุตสาหกรรมที่หลากหลายในอุบลราชธานีและอีสานใต้ อาทิ อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป, อุตสาหกรรมเทคโนชีวภาพ, อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวข้ามแดน, อุตสาหกรรมการบริการ, อุตสาหกรรมด้านสุขภาพ, อุตสาหกรรมอุปกรณ์ทางการเกษตร, อุตสาหกรรมเครื่องมือและยานยนต์ที่ใช้ในการเกษตร

ทุนไทย-ญี่ปุ่นทุ่ม 3พันล้านผุดนิคมอุตฯ

นอกจากนี้ นิคมฯ ดังกล่าวยังจะเป็นฐานการเชื่อมโยงการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านในเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมมรกต(กัมพูชา, สปป.ลาว และเวียดนาม) ที่นักลงทุนต่างๆ จะสามารถกระจายสินค้าจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปสู่ภูมิภาคอื่นๆ ได้อย่างสะดวกอีกด้วย เนื่องจากจังหวัดอุบลราชธานีนั้น เป็น 1 ในจังหวัดเขตอีสานใต้ที่มีความเหมาะสมและมีศักยภาพทั้งในเรื่องของประชากรที่มีมากกว่า 1.8 ล้านคน ยังไม่รวมประชากรในจังหวัดอีสานใต้โดยรอบอีกกว่า 10 ล้านคน

“การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมอุบลราชธานีขึ้น นอกจากจะเป็นการยกระดับจังหวัดอุบลราชธานีให้เป็นศูนย์กลางการลงทุนด้านอุตสาหกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องข้างต้นแล้ว นิคมฯแห่งนี้ยังมีบทบาทในฐานะเป็นศูนย์กลางของระบบโลจิสติกส์อันทันสมัยที่พรั่งพร้อมไปด้วยพื้นที่เชิงพาณิชย์ และแหล่งรวบรวมนวัตกรรมใหม่ๆ จากผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอีกด้วย”

ยังกล่าวด้วยว่า โครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมได้รับความร่วมมือจากองค์กรทั้งสี่เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการร่วมลงทุนโดยตรง จากบริษัทภายในและต่างประเทศ

 จึงถือเป็นโครงการตัวอย่างในการสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่แท้จริง เพราะช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจภายในท้องถิ่น กระตุ้นการจ้างงาน และรองรับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมที่สามารถสร้าง มูลค่าการลงทุนให้กับภูมิภาคได้อีกเป็นจานวนมาก

 โดยเชื่อว่า ภายหลังการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมอุบลราชธานีขึ้นมา จะกระตุ้น ให้เกิดกระแสเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจในเขตนี้ไม่ต่ำกว่า 20,000 ล้านบาท และก่อให้เกิดการสร้างงานราว 20,000 อัตราได้ภายในปี 2565

Cr guideubon, logisticstime เรียบเรียง 2BENEWS

error: Alert: Content is protected !!