ดีเดย์ 1ต.ค.นี้ คนกรุงต้องจ่ายค่าเก็บขยะเพิ่ม เป็นเดือนละ 80 บาท

เนื่องจากที่ผ่านมาอัตราการเก็บค่าธรรมเนียมในการเก็บขนขยะมูลฝอยของ กทม. ที่ใช้อยู่จนถึงวันนี้ ได้ใช้มาตั้งแต่ปี 2548 ซึ่งเป็นการจัดเก็บเฉพาะค่าธรรมเนียมเก็บขนมูลฝอย ไม่รวมค่ากำจัดมูลฝอย โดยบ้านเรือนทั่วไปจัดเก็บเพียงเดือนละ 20 บาท ส่งผลให้ กทม. ต้องแบกรับภาระในการจัดเก็บและกำจัดขยะมูลฝอยปีละประมาณ 6,900 ล้านบาท ด้วยเผตุผลดังกล่าว ศาลาว่าการกทม. โดย ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า สำนักสิ่งแวดล้อม จะจัดเก็บค่าธรรมเนียมจัดเก็บขยะมูลฝอยอัตราใหม่ 80 บาทต่อเดือน ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2562 เป็นต้นไป

ที่ผ่านมาเก็บแค่ร้อยละ9%ของค่าใช้จ่ายจริงเท่านั้น เมื่อพิจารณาต้นทุนค่าใช้จ่ายการจัดการขยะมูลฝอยตามบ้านเรือนทั่วไป จะพบว่ามีค่าใช้จ่ายในการเก็บขนมูลฝอย 130 บาท/เดือน ค่ากำจัดมูลฝอย 98 บาท/เดือน รวมทั้งสิ้น 228 บาท/เดือน ในขณะที่ปัจจุบันจัดเก็บค่าธรรมเนียมเพียงเดือนละ 20 บาท คิดเป็น 9% ของค่าใช้จ่ายโดยอัตราค่าธรรมเนียมการจัดการมูลฝอยสำหรับบ้านเรือนทั่วไป ที่มีปริมาณมูลฝอยไม่เกิน 20 ลิตร/วัน

สำหรับอัตราค่าจัดการขยะมูลฝอยมีดังนี้ กรณีที่มีวันหนึ่งไม่เกิน 20 ลิตร ค่าเก็บและขน 40 บาท/เดือนและเก็บค่ากำจัดอีก 40 บาท/เดือน รวมเป็น 80 บาท/เดือน จากเดิมที่เก็บเฉพาะค่าเก็บขนเดือนละ 20 บาท หรือเพิ่มขึ้นมาอีก 60 บาทต่อเดือน

ซึ่งข้อบัญญัติ กทม. ฉบับใหม่ ได้คำนึงถึงความเหมาะสม สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคม โดยไม่เป็นการสร้างภาระให้กับประชาชนมากเกินไป กทม.จึงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการจัดการมูลฝอยสำหรับบ้านเรือนทั่วไป ค่าเก็บขนมูลฝอย เดือนละ 40 บาท และค่ากำจัดมูลฝอย เดือนละ 40 บาท รวม 80 บาท/เดือน หรือเพิ่มขึ้นอีก 4 เท่าจากที่จัดเก็บอยู่ในปัจจุบัน คิดเป็น 35% ของค่าใช้จ่าย

ขยะจัดเก็บเป็นครั้งคราว กรณีไม่เกิน 500 ลิตร ค่าเก็บและขน ครั้งละ 125 บาท(เดิมครั้งละ 150 บาท) ค่ากำจัดครั้งละ 130 บาทกรณีเกิน 500 ลิตร แต่ไม่เกิน1 ลูกบาศก์เมตร ค่าเก็บและขน ครั้งละ 180 บาท (เดิมครั้งละ 150 บาท)ค่ากำจัดครั้งละ 190 บาท

จัดเก็บ หน่วยละ 75 บาท ค่ากำจัดมูลฝอยติดเชื้อ กรณีไม่เกิน 6.5 ลิตรหรือน้ำหนักไม่เกิน 1 กิโลกรัม จัดเก็บ หน่วยละ 8 บาท

และในส่วนของรูปแบบการจัดเก็บค่าธรรมเนียม จะมีทั้งการให้พนักงานเก็บขนมูลฝอยให้บริการจัดเก็บค่าธรรมเนียมถึงบ้านเรือนของประชาชน หรือการชำระค่าธรรมเนียมที่สำนักงานเขต และในอนาคตจะเพิ่มช่องทางรับชำระค่าธรรมเนียมทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-payment) เพื่อสร้างความสะดวกให้กับประชาชนมากยิ่งขึ้น

โดยรายได้ที่เกิดจากการปรับเพิ่มอัตราค่าธรรมเนียม จะทำให้กรุงเทพมหานครมีงบประมาณเพิ่มขึ้นที่สามารถนำไปใช้ในการบริหารงานด้านอื่นๆ ทั้งเรื่องการรักษาความสะอาด และการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีและพัฒนาคุณภาพชีวิต